ทำไมต้องจดทะเบียนบริษัท
ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักเริ่มต้นธุรกิจด้วยทุนจดทะเบียน 1 - 5 ล้านบาท เพราะต้องการเป็นธุรกิจในกลุ่ม SME เพื่อการจ่ายภาษีสรรพากรที่ประหยัดกว่าธุรกิจขนาดใหญ่
ท่านที่กำลังตัดสินใจปรับเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการดำเนินธุรกิจ ท่านสามารถใช้เหตุผลเหล่านี้เพื่อประกอบการตัดสินใจได้
ข้อ 1 ท่านต้องการภาพลักษณ์ที่ดีในการดำเนินธุรกิจ ใช่หรือไม่?
การจัดตั้งบริษัทช่วยสร้างความน่าชื่อถือให้ธุรกิจของท่าน
การขายสินค้าในนามบริษัทช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการแข่งขัน
รูปแบบการดำเนินงานของบริษัททำให้ลูกค้าเชื่อมั่นและไว้วางใจ
ข้อ 2 ท่านต้องการวางแผนภาษีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ใช่หรือไม่
ยกตัวอย่างการเสียภาษีของร้านค้า "ร้านค้าร่ำรวยพาณิชย์" มีรายได้จากการขายสินค้าปีละ 3 ล้านบาท
คำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้
- รายได้ทั้งปี 3,000,000.-
- หักค่าใช้จ่ายเหมา 60% 1,800,000.-
- หักลดหย่อนตนเอง 60,000.-
- หักลดหย่อนคู่สมรส 60,000.-
- เงินได้สุทธิ 1,080,000.-
- เสียภาษี ภ.ง.ด.90 135,000.-
ยกตัวอย่างการเสียภาษีของนิติบุคคล "บริษัท ร่ำรวย จำกัด" มีรายได้จากการขายสินค้า ปีละ 3 ล้านบาท มีเอกสารในการซื้อสินค้าตามจริง 2.1 ล้านบาท จ่ายเงินเดือนผู้บริหารสองคนเป็นเงิน 6 แสนบาท
คำนวนภาษีเงินได้นิติบุคล ดังนี้
- รายได้ทั้งปี 3,000,000.-
- หักต้นทุนสินค้า(ตามจริง) 2,100,000.-
- หักค่าใช้จ่ายบริหาร 600,000.-
- กำไรสุทธิ 300,000.-
- เสียภาษี ภ.ง.ด.50 -0.-
หมายเหตุ : นิติบุคคลกำไรสุทธิไม่เกิน 3 แสนบาท ยกเว้นภาษีเงินได้ทั้งจำนวน
ข้อ 3 ท่านมีความตั้งใจที่จะทำธุรกิจในระยะยาว ใช่หรือไม่
การดำเนินธุรกิจในระยะยาวมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มสภาพคลองให้ธุรกิจสามารถขยายงานได้เหนือคู่แข่ง อาจเป็นการเปิดเพิ่มสาขา การลงทุนซื้อเครื่องจักร หรือการสร้างโรงงานเพื่อให้ธุรกิจครบวงจรยิ่งขึ้น
การขอสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์จากธนาคารจึงเป็นทางเลือกที่ต้องพิจารณาเป็นลำดับต้นๆ โดยท่านต้องวางแผนในการจัดบัญชีภาษีให้ถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือ
ซึ่งต้องวางแผนธุรกิจให้มีทิศทางที่เติบโตและไม่ควรขาดทุนประจำปีเพื่อให้เข้าหลักเกณฑ์ในการขอสินเชื่อกับธนาคาร ปกติอาจใช้เวลาในการเตรียมดำเนินงานบริษัท 2 - 3 ปี ก่อนขอสินเชื่อ
Tags : ทำไมต้องจดทะเบียนบริษัท | จดหจก กับ บริษัท ต่างกันอย่างไร | จดทะเบียนประกันสังคม | จดภาษีมูลค่าเพิ่ม Vat