ข้อควรรู้เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT

จดภาษีมูลค่าเพิ่มตอนไหน

กรณีมีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รายรับเกิน โดยยื่นแบบขอจดทะเบียนกับสำนักงานสรรพากรอำเภอที่กิจการต้องอยู่

 

ภาษีมูลค่าเพิ่ม คืออะไร

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งตามกฎหมายประมวลรัษฎากร ซึ่งปัจจุบันจัดเก็บภาษีในอัตรา 7% ของราคาสินค้า หรือการให้บริการ การจำหน่ายสินค้า หรือ บริการภายในประเทศไทย และนำเข้าจากต่างประเทศ เป็นต้น

 

หลักการภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำมาใช้จัดเก็บในประเทศไทยเป็นระบบภาษีที่มุ่งจัดเก็บจากการบริโภค โดยไม่จัดเก็บจากการลงทุน จึงยอมให้ผู้ประกอบการนำภาษีมูลค่าเพิ่ม "ภาษีซื้อ" จากการลงทุนในทรัพย์สิน หรือรายจ่ายในการดำเนินกิจการทั้งหลาย มาเครดิตหักออกจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการได้เรียกเก็บจากการขายสินค้าหรือให้บริการ "ภาษีขาย" ทำให้ผู้ประกอบการมีภาระต้นทุนในการประกอบการที่ต่ำลง และไม่ก่อให้เกิดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บภาษี

 

ผู้มีหน้าที่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเป็นปกติธุระ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ได้มีการดำเนินการ และเตรียมการประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้า หรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือการติดตั้งเครื่องจักร

ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระ โดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร ให้ตัวแทนเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบการจดทะเบียน

 

ธุรกิจที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่นอาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน

ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน

การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร

 

เอกสารที่ใช้จดภาษีมูลค่าเพิ่ม

การยื่นแบบคำขอด้วยกระดาษโดยยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ แบบคำขอจดทะเบียนมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร (ภ.พ.01) จำนวน 3 ฉบับ พร้อมลายเซ็นผู้มีอำนาจลงนาม

 

หลักฐานแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการ ได้แก่

1. สัญญาเช่าอาคารที่เป็นที่ตั้งสถานประกอบการปิดอากรแสตมป์ (กรณีเช่า) หรือหนังสือยิยอมให้ใช้สถานที่เป็นสถานประกอบการ (กรณีเจ้าของให้ใช้โดยไม่ได้ค่าตอบแทน)

2. สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสถานประกอบการ

3. สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า/ผู้ยินยอม เช่น การเป็นเจ้าบ้าน สัญญาซื้อขาย คำขอเลขที่บ้าน ใบโอนกรรมสิทธิ์ สัญญาเช่าช่วง

4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านสถานประกอบการของผู้ให้เช่าหรือผู้ยินยอม หนังสือรับรองนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคลเป็นผู้ให้เช่า)

5. แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป พร้อมภาพถ่ายสถานประกอบการที่แสดงให้เห็นบ้านเลขที่

6. หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ

7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้มีอำนาจลงนาม

8. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทพร้อมวัตถุประสงค์


  • ขั้นตอนจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท.jpg
    บริการรับจดทะเบียนบริษัท ครบวงจร พร้อมบริการให้คำแนะนำปรึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง บริการตั้งแต่จัดตั้งบริษัท แก้ไขทะเบียนนิติบุคคล เปลี่ยนแปลงกรรมการ เปลี่ยนแปลงที่อยู่บริษัท แก้ไขเพ...

  • การจดทะเบียนการค้าบริษัทและห้างหุ้นส่วนจำกัด.jpg
    ท่านที่กำลังตัดสินใจปรับเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจจากร้าค้าทะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา) มาเป็นรูปแบบนิติบุคคล (บริษัท หรือ หจก.) เพื่อการจัดการด้านบัญชีและภาษีให้ถูกต้องและมี...

  • สิ่งที่ต้องรู้ก่อนจดทะเบียนบริษัท.jpg
    จดทะเบียนบริษัท หรือ หจก ดี? เป็นคำถามยอดนิยมสำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ที่มักจะสอบถามกับทีมงานของเราอยู่เสมอ ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมาเรามักจะแนะนำให้ลูกค้าจดทะเบียนเป็นบริษัทมากกว่า โ...

  • จดทะเบียนประกันสังคม.jpg
    จดทะเบียนประกันสังคมตอนไหน กรณีมีพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป มีหน้าที่ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้าง เพื่อเป็นผู้ประกันตนภายใน 30 วัน และกรณีรับลูกจ้างใหม่ต้องแจ้งข...

  • 2TJ
    ตราประทับจะมีภาพโลโก้อย่างเดียวก็ได้ ถ้าจะมีชื่อในดวงตราประทับนั้นต้องตรงกับชื่อที่ขอจดทะเบียน ส่วนชื่อภาษาอังกฤษก็ต้องตรงกับที่ขอใช้ในต้องจองชื่อกิจการ และต้องมีคำแสดงประเภทของนิต...
Visitors: 1,981,438